กิจกรรม 15 - 19 พฤศจิกายน 2553

1. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ลงในสมุดงานบันทึกคะแนนที่ได้
2. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล พร้อมที่มาของแห่งข้อมูลลงใน Blog ของตนเอง กำหนดส่งท้ายคาบเรียนที่ 2 ดังนี้

สืบค้นข้อมูลที่มา :http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phichit/apichat_p/sec01p02.html
ตอบข้อ.2ดาวศุกร์

สืบค้นข้อมูล.:ที่มา :: http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/prae/narerat/the_solar_system/jupiter.htm
ตอบข้อ.2.ไฮโดรเจน
องค์ประกอบหลักของดาวพฤหัสบดีคือ ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซฮีเลียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบประมาณ 75% และ 25% โดยมวลตามลำดับ นอกจากก๊าซสองชนิดหลักแล้วยังมีสารอื่นๆปะปนอยู่บ้างแต่มีปริมาณน้อยมาก การศึกษาธาตุองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดีอย่างละเอียดชี้ให้เห็นว่า ดาวพฤหัสบดีมีปริมาณธาตุองค์ประกอบคล้ายกับดวงอาทิตย์มาก แสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ก๊าซดวงนี้แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเลยตั้งแต่รวมตังขึ้นเมื่อหลายพันปีมาแล้ว
     เนื่องจากดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ จึงไม่มีพื้นผิวแข็งที่ชัดเจนดังเช่นโลกหรือดาวเคราะห์แข็งอื่นๆ แต่เนื้อสารชั้นบนบริเวณผิวของดาวค่อยๆ เบาบางลงและหายไปในอวกาศ ในการศึกษาดาวพฤหัสบดี นักดาราศาสตร์จึงใช้ระดับที่มีความดัน 1 บาร์ ( เท่ากับความดันที่ผิวโลก ) ของบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีเป็นรัศมีของดาว หากใช้นิยามนี้ ดาวพฤหัสบดีจะมีรัศมีประมาณ 70,000 กิโลเมตร ที่ระดับผิวดาวเป็นแนวยอดเมฆ ( Cloud Top ) ของดาวพฤหัสบดีซึ่งมีอุณหภูมิ -148 องศาเซลเซียล ( 125 เคลวิน ) และความหนาแน่นประมาณ 0.0002 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร

สืบค้นข้อมูล.ดาวนิวตรอน (อังกฤษ: Neutron star) เป็นซากที่เหลือจากยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์โนวาชนิด II,Ib หรือ Ic และจะเกิดเฉพาะดาวฤกษ์มวลมากมีส่วนประกอบเพียงนิวตรอนที่อะตอมไร้กระแสไฟฟ้า (นิวตรอนมีมวลสารใกล้เคียงโปรตอน) และดาวประเภทนี้สามารถคงตัวอยู่ได้ด้วยกฎของเพาลีเกี่ยวกับแรงผลักระหว่าง นิวตรอน
ดาวนิวตรอนมีมวลประมาณ 1.35 ถึง 2.1 เท่ามวลดวงอาทิตย์ และมีรัศมี 20 ถึง 10 กิโลเมตรตามลำดับ (เมื่อดาวนิวตรอนมีมวลเพิ่มขึ้น รัศมีของดาวจะลดลง) ดาวนิวตรอนจึงมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ 30,000 ถึง 70,000 เท่า ดังนั้นดาวนิวตรอนจึงมีความหนาแน่นที่ 8*10^13 ถึง 2*10^15 กรัมต่อลูกบากศ์เซนติเมตร ซึ่งเป็นช่วงของความหนาแน่นของนิวเคลียสอะตอม ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นาประมาณ 150,000 กิโลเมตรต่อวินาที หรือประมาณครึ่งหนึ่งของความเร็วแสง โดยทั่วไปแล้ว ดาวที่มีมวลน้อยกว่า 1.44 เท่ามวลดวงอาทิตย์ จะเป็นดาวแคระขาวตามขีดจำกัดของจันทรสิกขาร์ ถ้าอยู่ระหว่าง 2 ถึง 3 เท่ามวลดวงอาทิตย์อาจจะเป็นดาวควาร์ก (แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่) ส่วนดาวที่มีมวลมากกว่านี้จะกลายเป็นหลุมดำไป
เมื่อดาวฤกษ์มวลมากเกิดซุเปอร์โนวาและกลายเป็นดาวนิวตรอน ส่วนแก่นของมันจะได้รับโมเมนตัมเชิงมุมมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรัศมีจากใหญ่ไปเล็กนั้นจะทำให้ความเร็วในการหมุนรอบตัว เองขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะหมุนรอบตัวเองช้าลงทีละน้อย ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดาวนิวตรอนที่มีการบันทึกได้นั้นอยู่ระหว่าง 700 รอบต่อวินาทีไปจนถึง 30 วินาทีต่อรอบ ความเร่งที่พื้นผิวอยู่ที่ 2*10^11 ถึง 3*10^12 เท่ามากกว่าโลก ด้วยเหตุนี้ดาวนิวตรอนจึงสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงหรือพัลซาร์ และกระแสแม่เหล็กออกมาปริมาณมหาสาร
การที่ดาวนิวตรอนสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงๆนั้นทำได้อย่างไร ยังไมเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ แม้ว่าจะมีการวิจัยเรื่องนี้มานานกว่า 40 ปีแล้วก็ตาม
ในดาราจักรของเรานั้นเราพบเพียงไม่กี่สิบดวงเท่านั้น เรายังพบอีกว่า ดาวนิวตรอน น่าจะเป็นต้นกำเนิดของ แสงวาบรังสีแกมมา ที่มีความสว่างมากกว่าซูเปอร์โนวา หลายเท่า
ดาวนิวตรอน (Neutron star) มีขนาดเล็กมากประมาณ 10 – 20 กิโลเมตร และมีความหนาแน่นสูงมาก เนื้อสารของดาวนิวตรอน 1 ช้อนชา มีมวลถึง 120 ล้านตัน (อะตอมของสสารบนโลกมีที่ว่าง 99.999% ของอะตอม แต่ดาวนิวตรอนไม่มีที่ว่างอยู่เลย จึงสามารถบีบอัดมวลมหาศาลให้มีปริมาตรเล็กได้) อย่างไรก็ตามดาวนิวตรอนมีลิมิตมวลไม่เกิน 3 เท่าของดวงอาทิตย์ ถ้าหากมีมวลมากกว่านี้ แรงโน้มถ่วงของดาวจะเอาชนะแรงดันดีเจนเนอเรซีของดาวนิวตรอน ทำให้แก่นดาวยุบตัวเป็นหลุมดำ ซึ่งแม้แต่แสงยังไม่สามารถหนีหลุดออกมาได้

ที่มา : http://picpost.postjung.com/64226.html
ตอบข้อ.4.ดาวนิวตรอน
สืบค้นข้อมูล.โชติมาตรสัมบูรณ์ (อังกฤษ: Absolute magnitude,M) เป็นการวัดความสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ โดยจินตนาการให้ดาวฤกษ์นั้นอยู่ที่ระยะห่างจากโลกออกไป 10 พาร์เซก หรือ 32.616 ปีแสง โดยดาวที่ห่างไปจากโลก 10 พาร์เซก จะมีมุมแพรัลแลกซ์ เป็น 0.1 พิลิปดา
การวัดความสว่างของดาวฤกษ์อีกแบบคือ
โชติมาตรปรากฏซึ่งเป็นการวัดความสว่างของดาวบน ท้องฟ้าเมื่อมองจากโลก
อย่างไรก็ตามแม้โชติมาตรปรากฏจะสามารถบอกอันดับความสว่างของดาวได้ แต่ก็ไม่สามารถบอกกำลังส่องสว่างที่แท้จริงของ
ดาวฤกษ์
ดวงนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง ดาวฤกษ์ที่ปรากฏให้เห็นความสว่างยามค่ำคืนน้อยกว่า แท้จริงแล้วอาจมีกำลังส่องสว่างมากกว่าดาวที่ปรากฏสุกใสอยู่บนท้องฟ้าได้ ซึ่งเป็นเพราะดาวนั้นอยู่ไกลจากโลกออกไปมากนั่นเอง
ค่าของโชติมาตรสัมบูรณ์มีลักษณะเหมือนกับโชติมาตรปรากฏ คือ ดวงดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 5 อันดับ จะมีความสว่างต่างกัน 100 เท่า คือ ดวงดาวที่มีโชติมาตรสัมบูรณ์ต่างกัน 1 โชติมาตร จะมีความสว่างต่างกัน \sqrt[5]{100}\approx 2.512 เท่า

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C
ตอบข้อ.4.ดาวDมีอันดับความสว่าง-2
สืบค้นข้อมูล:ปีแสง คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607×1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก เนื่องจากเอกภพมีขนาดมหึมา แสงจากวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะ เดินทางมาถึงเรา นั่นหมายความว่าเราเห็นอดีตของวัตถุนั้นอยู่ตลอดเวลา
ปีแสงใช้เพื่อวัดระยะทางระหว่างดาราจักร และไม่ใช่หน่วยวัดเวลา หนึ่งปีแสงมีค่าที่แน่นอนโดยใช้ตัวเลขปีจูเลียน (365.25 วัน) มาคำนวณซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล[1] คือ 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87
ตอบข้อ.1ระยะเวลาที่แสงใช้เวลาเดินทาง1ปี
สืบค้นข้อมูล:ซูเปอร์โนวา หรือ มหานวดารา เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมากที่สุดที่รู้จัก นั่นคือเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุไขแล้ว จะเปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดออกรัศมีสว่างวาบเป็นรัศมีเพียงชั่วครู่ ก่อนจะเลือนจางลงในเวลาสัปดาห์หรือเดือนเท่านั้น
ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ ที่เกิดซูเปอร์โนวานี้ มันจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลขนาดเท่ากับพลังงานของดวงอาทิตย์ดวงหนึ่งสามารถปลดปล่อยได้ทั้งชีวิตที เดียว การระเบิดจะขับไล่ดวงดาวและวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ให้กระเด็นออกไปไกลด้วยความเร็วแสง และเกิดคลื่นกระแทกแผ่ออกไปโดยรอบตรงช่องว่าง ระหว่างดวงดาว การกระแทกนี้ได้กวาดเหล่าแก๊สและฝุ่นละอองออกไปอย่างรวดเร็ว เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการเกิดซากซูเปอร์โนวา
แต่ละประเภทของซูเปอร์โนวา ที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งเกิดพลังงานที่เกิดจากนิวเคลียร์ฟิวชัน หลังจากแกนกลางของดาวมีอายุมวลมากเข้าสู่ความตาย และเริ่มสร้างพลังงานจากนิวเคลียร์ฟิวชัน อยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงที่จะนำไปสู่การยุบตัวของดวงดาว จนอาจกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือไม่ก็หลุมดำ การปลดปล่อยพลังงานศักย์โน้มถ่วง ทำให้เกิดทั้งความร้อนและสาดผิวชั้นนอกของดวงดาวให้กระเด็นออกไป ในทางกลับกัน ดาวแคระขาวอาจสะสมเพิ่มพูนสสารจนเพียงพอจากดาวข้าง เคียงกัน หรือที่เรียกว่าระบบดาวคู่(binary star system) เป็นการเพิ่มอุณหภูมิแกนกลางจนกระทั่งเกิดฟิวชันถึงระดับของธาตุคาร์บอน แกนกลางของดาวฤกษ์ที่ร้อนระอุซึ่งอยู่ในสภาวะยุบตัวเนื่องจากมีมวลเกินค่าขีดจำกัดของจันทร เศกขาร ( Chandrasekhar limit) ซึ่งมีค่าประมาณ 1.38 เท่าของดวงอาทิตย์ เกิดเป็นซูเปอร์โนวาประเภท T1 (Type I Supernovae) แต่ว่าดาวแคระขาวจะแตกต่างตรงที่มีการระเบิดที่เล็กกว่าโดยใช้เชื้อเพลิงจากไฮโดรเจนที่ผิวของมัน เรียกว่า โนวาดาวที่มีมวลน้อย (ประมาณไม่ถึงเก้าเท่าของดวงอาทิตย์) เช่นดวงอาทิตย์ของเรา จะวิวัฒน์ไปเป็นดาวแคระขาวโดยปราศจากการเกิดซูเปอร์โนวา
ประเภทของซูเปอร์โนวาที่เราคุ้นเคยที่สุดก็คือ ซูเปอร์โนวาประเภท T2 (Type II Supernovae) เกิดจากการสิ้นสุดวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ เป็นการดับของดาวฤกษ์ที่มีขนาดยักษ์กว่าดวงอาทิตย์ของเรา โดยการระเบิดจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในแกนกลางของดาวฤกษ์หมดลง แรงดันที่เกิดจากอิเลคตรอนผลักกันก็จะหายไป ดาวฤกษ์จะยุบตัวลงเนื่องจากแรงโน้มถ่วงอะตอมธาตุใน แกนกลางดาวฤกษ์บีบอัดตัวจนชนะแรงผลักจากประจุ อะตอมจึงแตกออกเหลือแต่นิวตรอนอัดตัวกันแน่นแทน เปลือกดาวชั้นนอกๆ ที่บีบอัดตามเข้ามาจะกระแทกกับแรงดันจากนิวตรอน จนกระดอนกลับและระเบิดกลายเป็นซูเปอร์โนวา วัสดุสารจากการระเบิดซูเปอร์โนวาจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง ที่ใจกลางของซูเปอร์โนวาจะมีก้อนนิวตรอนซึ่งจะเรียกว่า ดาวนิวตรอน (neutron star)
โดยเฉลี่ยแล้ว ซูเปอร์โนวาจะเกิดประมาณห้าสิบปีครั้งหนึ่งในดาราจักรที่มีขนาดเท่าๆ กับทางช้างเผือกของเรา มีบทบาทสำคัญกับการเพิ่มมวลให้กับมวลสารระหว่างดวงดาว นอกจากนั้น การแผ่กระจายของคลื่นกระแทกจากการระเบิดของซูเปอร์โนวาสามารถก่อให้เกิดดาว ดวงใหม่ได้มากมาย
คำว่า “โนวา” มาจากภาษาลาติน แปลว่าใหม่ หมายถึงการเกิดใหม่ของดาวดวงใหม่ส่องแสงสว่างในท้องฟ้า ส่วนคำว่า “ซูเปอร์” จำแนกซูเปอร์โนวาออกจาก โนวา ธรรมดา ต่างกันที่ความสว่างที่สว่างกว่า ขนาดและทางกลที่ต่างกันด้วย คำว่าซูเปอร์โนวาใช้ครั้งแรกในหนังสือ Merriam-Webster's Collegiate Dictionary ตีพิมพ์เมื่อปี 1926
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2ตอบข้อ.2.การระเบิดซุเปอร์โนวา
สืบค้นข้อมูล:  ดาวฤกษ์ส่องแสงได้เนื่องจากมันมีความร้อนสูง มันได้รับพลังงานมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นภายใน แต่น้อง ๆ เคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่ามันมีสีที่แตกต่างกัน?
     ดาวฤกษ์ส่งคลื่นแสงออกไป แต่แสงนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อดาวฤกษ์เคลื่อนที่ ขณะที่ดาวฤกษ์เคลื่อนที่เข้าหาเรา แสงของมันจะขาวขึ้น แต่เมื่อมันเคลื่อนที่ออกไปไกลจากเรามันจะทอดหางออกมาเป็นแสงสีแดง
     ในปีพ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) นักดาราศาสตร์ต่างก็ต้องประหลาดใจที่ได้พบว่ากาแล็กซีที่รู้จักกันดีส่วน ใหญ่จะมีโทนสีแดง ทำไมมันอย่างนั้นล่ะ? เหตุผลก็คือกาแล็กซีส่วนใหญ่จะเดินทางออกหางจากเรา ด้วยความเร็วสูงกว่านั้น อาจจะถึงหลายหมื่นไมล์ต่อวินาทีเลยทีเดียว ดาวฤกษ์มีแสงสว่างในตัวเอง สีของมันขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่พื้นผิวของดวงดาว
  • ดาวที่มีแสงสีฟ้ามีความร้อนสูงที่สุด มันมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 45,032  F
  • ดาวที่มีแสงสีขาวมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 10,832  F
  • ดาวที่มีแสงสีเหลืองมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 8,540  F  F
  • ดาวที่มีแสงสีแดงมีความเย็นมากที่สุด มันมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 4,940
ตอบข้อ.2มีแสงสีแดง

สืบค้นข้อมูล:ความสว่างและสีของดาว  เมื่อเราสังเกตดาวบนท้องฟ้า  นอกจากกลุ่มดาวแล้ว  สิ่งที่น่าสังเกตและน่าสนใจอีกสิ่งหนึ่งก็คือ  เราจะเห็นว่าดาวแต่ละดวงมีความสว่างและสีไม่เหมือนกัน  ตัวอย่างเช่น  ดาวซิริอุส (Sirius)  ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ (Canis  Major)  เป็นดาวฤกษ์ที่เราเห็นว่ามีความสว่างที่สุดบนท้องฟ้าในตอนกลางคืน และมีสีขาว  ส่วนดาวเหนือ (Polaris)  ในกลุ่มดาวหมีเล็ก (Ursa  Minor)  เป็นดาวฤกษ์ที่ไม่ค่อยสว่าง  และมีสีเหลืองแกมเขียว  เป็นต้น         ความสว่างของดาวฤกษ์บนท้องฟ้า  เป็นความสว่าง ปรากฏแก่ตาของเรา  ความจริงแล้ว  ดาวที่ปรากฏไม่สว่างมาก  อาจมีความจริงมากก็ได้  แต่เนื่องจากดาวดังกล่าวอยู่ไกลจากเรามากจึงปรากฏไม่ค่อยสว่าง  ดังนั้นถ้าจะเปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์กันจริง   แล้ว  จะต้องเปรียบเทียบดาวที่ระยะ ทางเดียวกันหมด
        นักดาราศาสตร์นิยมกำหนดความสว่างของดาวในเทอมของ
  โชติมาตร (Magnitude)  ซึ่งเป็นค่า ระดับความสว่าง  โดยกำหนดว่า  ดาวที่มีโชติมาตร  1  จะมีความสว่างปรากฏมากกว่าดาวที่มีโชติมาตร  6  ประมาณ  100  เท่า  และดาวที่มีโชติมาตร  6  จะเป็นดาวที่มีความสว่างปรากฏที่น้อยที่สุดที่ตาของคนปกติสามารถ มองเห็นได้  โดยไม่ใช้กล้องสองตาหรือกล้อง ดูดาวช่วย  จากข้อกำหนดดังกล่าว  จึงพบว่าถ้าดาว  2  ดวงมีค่าโชติมาตรต่างกัน  1  แล้วความสว่างของดาวทั้ง  2  ดวงนี้จะต่างกัน  2.512  เท่า  ตัวอย่างเช่น  ดาวโชติมาตร  2  จะสว่างกว่าดาวโชติมาตร  3  ประมาณ  2.512  เท่า 
เป็นต้น
       
© ดาววีกา (Vega)  ซึ่งเป็นดาวที่ มีค่าโชติมาตร  0  จะสว่างกว่า  ดาวเหนือ  ซึ่งเป็นดาวที่มีโชติมาตร  2 
กี่เท่า
       
ถ้าจะเปรียบ เทียบความสว่างที่แท้จริงของดาวแล้ว  จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบดาวทุกดวงที่ระยะทางเท่ากันหมด  นักดาราศาสตร์พิจารณาค่าความสว่างหรือโชติมาตรที่แท้จริงของดาวโดย จะพิจารณาดาวทุดดวงอยู่ที่ระยะมาตรฐาน  10  พาร์เซค (Parsec)  โดยระยะทาง  1  พาร์เซค  มีค่าเท่ากับ  3.26  ปีแสง  หรือประมาณ  30  ล้านล้านกิโลเมตร  และเรียกค่าโชติมาตรของดาว  เมื่อพิจารณาระยะ  10  พาร์เซค  นี้ว่า  โชติมาตรสัมบูรณ์ (Absolute  Magnitude , m)  ส่วนค่าโชติมาตรของดาว    ระยะทางที่แท้จริง (d)  ของดาว  เรียกว่า  โชติมาตรปรากฏ (Apparent Magnitude , m)  โดยค่าทั้ง  3  สัมพันธ์กับตามสมการต่อไปนี้
ตอบข้อ.3.6.25

   
M  =  m 5 log  d + 5
          โดยระยะทาง  d  มีหน่วยเป็นพาร์เซค
      
©ดาวฤกษ์ดวงหนึ่งมีค่าโชติมาตร สัมบูรณ์  เท่ากับ  0  อยู่ห่างจากโลก  100  พาร์เซคเราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์ดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่าหรือไม่ 
จงให้เหตุผลประกอบ
      
เมื่อถ่ายภาพดาว ฤกษ์  พบว่า  ดาวฤกษ์แต่ละดวงจะมีขนาดแตก ต่างกันไป  ขนาดของดาวฤกษ์ที่ปรากฏอยู่บน ภาพถ่ายจะสัมพันธ์กับความสว่างของดาวฤกษ์  เราอาจถ่ายภาพของดาวฤกษ์ได้โดยใช้กล้องถ่ายภาพแบบเลนส์เดี่ยว ธรรมดาหรือกล้องถ่ายภาพ  ซี ซี ดี ติดเข้ากับกล้อง ดูดาว  จากภาพถ่ายของ ดาวฤกษ์จะเห็นว่าดาวสว่างจะมีขนาดใหญ่  และดาวหรี่จะมีขนาดเล็ก  ภาพที่  9  แสดงภาพของกระจุกดาวฮายเอเดส  (Hyades)  ซึ่งเป็นกระจุกดาวที่อยู่ในกลุ่มดาวราศีพฤษภ  (Taurus)  และภาพที่  10  แสดงภาพวาดของกระจุดดาวฮายเอเดส  ซึ่งวงกลมแต่ละวงจะมีขนาดเท่ากับดาวแต่ละดวงในภาพที่  9  และในภาพดังกล่าวจะมีดาวมาตรฐาน  (Standard  Stars)  ที่เราทราบค่าโชติมาตรปรากฏที่แน่นอน  ดังแสดงในตาราง
ชื่อดาว
ค่าโชติมาตรปรากฏ  (m)
a  Tau
e Tau
r Tau
58 Tau
48 Tau
+  2.39
+  4.56
+  4.90
+  5.48
+  6.72
ตารางแสดง  ค่าโชติมาตรปรากฏของดาวฤกษ์บางดวงในกระจุกดาวฮายเอเดสที่ใช้เป็นดาวมาตรฐาน


ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 2 และมีสว่างมากที่สุดในยามค่ำคืนจึงเรียกดาวศุกร์ว่า ดาวประจำเมืองในช่วงเช้ามือ เราเรียกว่า ดาวประกายพรึกไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12032 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 107.52 ล้านกิโลเมตร